Home » การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าโรงงาน มีอะไรบ้าง

การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าโรงงาน มีอะไรบ้าง

by wpadmin
119 views
1.การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าโรงงานมีอะไรบ้าง

การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง

จะต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้านั้นยังทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งวันนี้เรามีข้อแนะนำรายการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้ามาให้ดูว่าควรตรวจสอบอะไรบ้าง

1) การตรวจสอบปลอกนําสาย (Bushing)

มีรอยแตกเสียหายหรือไม่มีฝุ่นหรือคราบเกลือจับที่ผิวหรือไม่ ทําความสะอาดผิด (รายปี)

2) การตรวจสอบสายนําออก

  • ขั้วต่อสายไฟร้อนเกินไปหรือไม่
  • ส่วนต่อของสายเมนและสายนําออกจําขั้วแรงดันไฟต่ำรอนเกินไปหรือไม่ ดูได้จากรอยไหม้หรือ การเปลี่ยนสี

3) การตรวจสอบน้ํามันฉนวน

  • ปริมาณน้ํามันเพียงพอเหมาะหรือไม่ ดูได้จากขีดบอกปริมาณน้ํามัน
  • น้ํามันมีความคงทนต่อแรงดันไฟดีหรือไม่ (รายปี)
  • ระดับ pH ของน้ํามันดีหรือไม่ (รายปี)

2.การทดสอบความต้านทานฉนวน

4) การทดสอบความต้านทานฉนวน

  • วัดค่าความต้านทานของฉนวน (รายปี)
  • ระหว่างกราวนด์กับด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิ 30 MΩ
  • ระหว่างกราวนด์กับด้านทุติยภูมิ 5 MΩ ที่ 55°C

5) การตรวจสอบสายดิน

  • สายดินขาด หรือหลุดหรือไม่
  • ข. ขั้วต่อสายดินหลวมหรือไม่

6) การตรวจสอบลักษณะการติดตั้ง

ลักษณะการติดตั้งดีหรือไม่ มีร่องรอยเสียหายหรืออยู่ในสภาพอันตรายหรือไม่

7) การตรวจสอบสภาพภายนอก

  • ตัวถังมีรอยบิดเบี้ยวหรือเกิดสนิมเสียหายหรือไม่
  • ตัวถังร้อนเกินไปหรือไม่
  • น้ํามันรั่วหรือไม่
  • มีเสียงหรือกลิ่นผิดปกติหรือไม่
  • สารดูดความชื้นเปลี่ยนสีไปหรือไม่

8) การตรวจสอบอุณหภูมิ

  • ในกรณีที่ไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ให้ใช้มือแตะวัดความร้อนดูหลังจากที่ได้ทดสอบให้แน่ใจว่าไม่มี กระแสแล้ว หรือถ้ามีแผ่นเทปบอกอุณหภูมิติดอยู่อาจดูได้จากสีของแผ่นเทปที่เปลี่ยนไป
  • ในกรณีจําเป็น อาจวัดอุณหภูมิดูในขณะที่หม้อแปลงมีโหลดเต็มที่
  • ถ้าหม้อแปลงร้อนเป็นบางส่วน แสดงว่าภายในผิดปกติให้ตรวจสอบดู

9) วิธีตรวจสอบ Static capacity

การตรวจสอบปลอกนําสายมีรอยแตกเสียหายหรือไม่ มีฝุ่นหรือคราบเกลือจับที่ผิวหรือไม่ทําความ สะอาดผิวปลอกนําสาย (รายปี)

คําอธิบาย

ในการทําความสะอาดปลอกนําสาย ห้ามใช้ใบมีดขูดรอยสกปรกที่แข็งจับตัวบนผิวของปลอกนําสาย ให้ใช้ ผ้าเช็ดอย่างบรรจง

ก. การทดสอบความต้านทานของฉนวน วัดความต้านทานของฉนวนระหว่างขั้วต่อต่างๆ กับตัวถัง (กราวนด์) (รายปี)

  • ความต้านทานตามผิวของปลอกนําสายมีผลต่อค่าความต้านทานของฉนวนระหว่างขั้วต่อต่างๆ กับตัวถัง
  • ใช้วัดด้วยเมกเกอร์ขนาด 1,000 V

ข. การทดสอบความต้านทานต่อลงดิน

  • วัดค่าความต้านทานต่อลงดิน (รายปี)
  • การต่อลงดินชนิดที่ 1

ค. การตรวจสอบสภาพภายนอก (ตัวถัง)

  • ตัวถังบิดเบี้ยวเสียหาย หรอเป็นสนิมหรือไม่
  • ตัวถังป่องออกมาผิดปกติหรือไม่
  • ตัวถังร้อนเกินไปหรือไม่
  • น้ํามันรั่วหรือไม่
  • มีเสียง หรอกลิ่นผิดปกติหรือไม่
  • ขั้วต่อสายร้อนเกินไปหรือไม่
  • สายดินขาดหรือหลุดหรือไม่
  • ขั้วสายดินหลวมเกินไปหรือไม่

คําอธิบาย

  • สภาพที่ตัวถังร้อนเกิน ดูได้จากรอยบิดเบี้ยวหรือสีที่เปลี่ยนไป
  • ถ้าผิวของตัวถังมีน้ํามันซึมออกมานิดหน่อยไม่เป็นไรแต่ถ้ารั่วให้รีบจัดการเปลี่ยนเสีย
  • สภาพที่ขั้วต่อร้อนเกิน ดูได้จากรอยไหม้หรือสีที่เปลี่ยนไป
  • ใช้มือลองจับสายดินดูหากว่าโยกหลวมเกินไปให้ขันขั้วต่อสายดินให้แน่น

3.วิธีตรวจสอบ สถานีจ่ายไฟย่อย

10) วิธีตรวจสอบ สถานีจ่ายไฟย่อย

ก. การตรวจสอบตู้โลหะ

  • เป็นสนิมหรือเสียหายหรือไม่
  • ประตูเปิดปิดได้เหมือนปกติหรือไม่
  • มีรอยน้ำซึมที่พื้นตู้หรือไม่
  • มีรอยหนูเข้าไปทํารังหรือไม่
  • มีรอยฝนรั่วหรือไม่
  • อุณหภูมิในตู้ร้อนเกินไปหรือไม่
  • รอบๆ ตู้โลหะเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือไม่

คําอธิบาย

  • ถ้าตู้โลหะเกิดเสียหาย ผุเปื่อย สีลอก น้ําฝน หรือฝุ่นเข้าไป อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิด ความผิดปกติได้
  • ประตูอาจถูกเปิดออกโดยลมฝน ทําให้น้ำเข้าไปข้างในได้เมื่อมีร่องรอยที่หนูเข้ามา ต้องปิดรูที่หนูเข้ามาเสียหาไม่แล้วอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • ถ้าหาก Cubicle ตั้งอยู่ที่โล่งแจ้ง ถูกแดดส่องอยู่ตลอดเวลาควรระวังอุณหภูมิภายในตู้

11) การตรวจสอบตู้รับไฟ และตู้จ่ายไฟ

ก. ไฟสัญญาณ (Pilot lamp) ของอุปกรณ์รับไฟและอุปกรณ์จ่ายไฟติดหรือไม่

  •  ไฟสัญญาณของ OCB ติดหรือไม่
  • โวลต์มิเตอร์ปกติดีหรือไม่
  • แอมมิเตอร์ปกติดีหรือไม่
  • สวิตซ์สับเปลี่ยนของอุปกรณ์วัดปกติดีหรือไม่
  • ขั้วต่อสายไฟของตู้จ่ายไฟหลวมหรือไม่

ข. การตรวจสอบเครื่องป้องกัน

  • รั้วป้องกันเรียบร้อยหรือไม่
  • แผ่นป้าย “ห้ามเข้า” และ “อันตราย” แตกเสียหายหรือไม่
  • มีเครื่องดับเพลิงอยู่ในบริเวณใกล้ๆ หรือไม่
  • ดูว่ารั้วกั้นผุเปื่อย หรือเป็นสนิมหรือไม่

ค. การตรวจสอบสวิตซ์เปิดปิดพร้อมฟิวส์ทางด้านโหลด

  • ลูกถ้วยที่รองรับมีรอยแตกหรือบิ่นหรือไม่
  • มีฝุ่น หรือคราบเกลือมาจับที่ผิวหรือไม่
  • ส่วนสัมผัสของขั้วใบมีดและขั้วรองรับใบมีดมีรอย

ง. เสียหายหรือร้อนเกินไปหรือไม่

  • การสับสวิตซ์เป็นไปอย่างเรียบร้อยหรือไม่
  • ตะปูเกลียวตามขั้วต่อต่างๆ หลวมหรือไม่
  • ฟิวส์ลิงค์มีรอยแตกเสียหาย หรือเปลี่ยนสีหรือไม่

จ. การตรวจสอบหม้อแปลงแรงดันไฟสูง

  • หม้อแปลงทํางานเกินกําลังหรือไม่
  • ตัวถังร้อนเกินไปหรือไม่
  • มีเสียงหรือกลิ่นผิดปกติหรือไม่
  • น้ํามันรั่วหรือไม่
  • ปลอกนําสายเสียหาย สกปรกหรือไม่
  • มีฝุ่นหรือคราบเกลือจับที่ผิวของปลอกนําสายหรือไม่
  • ตะปูเกลียวที่ยึดหลวมหรือไม่

ฉ. การตรวจสอบ Static Capacitor

  • ตัวถังป่องออกมาผิดปกติหรือไม่
  • ตัวถังร้อนเกินไปหรือไม่
  • น้ํามันรั่วหรือไม่
  • มีเสียงหรือกลิ่นผิดปกติหรือไม่
  • ขั้วต่อสายไฟร้อนเกินไปหรือไม่
  • ปลอกนําสายมีรอยแตกเสียหาย หรือสกปรกหรือไม่
  • มีฝุ่นหรือคราบเกลือจับที่ผิวของปลอกนําสายหรือไม่

ช. หัวข้อการทดสอบสําหรับการตรวจสอบประจํา

  • การทดสอบความต้านทานของฉนวน
  • การทดสอบความต้านทานต่อลงดิน
  • การทดสอบความคงทนต่อแรงดันไฟและการวัดระดับ pH (ในกรณีจําเป็น) ของน้ํามันฉนวนใน หม้อแปลง

สรุป

หม้อแปลงไฟฟ้าถือเป็นหัวใจในการรับและส่งระบบไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งหากเราให้ความสำคัญในการบำรุงรักษาการหม้อแปลงไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อาจช่วยให้ค่าไฟของเราลดลงช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าจะต้องตรวจสอบโดยผู้ชำนาญเฉพาะทางที่มีความรู้ในด้านนี้จริงๆ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

เกี่ยวกับเรา

แหล่งรวมความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่เปิดให้คุณอ่านได้ฟรี! พร้อมอัปเดตเนื้อหาใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ติดต่อ